ufabet

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) หมายถึง ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการ 

ชนิดของภาวะหัวใจล้มเหลว  มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

  1. หัวใจห้องขวาล้มเหลว หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า 
  2. หัวใจห้องซ้ายล้มเหลว   หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจห้องนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่นๆ หากหัวใจห้องนี้ล้มเหลว  ร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือด ทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่า น้ำท่วมปอด   นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า

สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว

เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวของหัวใจก็จะลดลง  หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นหรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ 

หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บ และแน่นหน้าอกมาก่อน   เมื่อเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้าง  ก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน

ufabet

กล้ามเนื้อหัวใจเอง ได้แก่ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง (Cardiomyopathy) การติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจ  กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง  

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในอนาคต ได้แก่ 

  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) 

การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมากพอจึงเกิดอาการของหัวใจวายโปรดจำไว้ว่าการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่การรักษา แล้วหายขาด การรักษาเป็นการปรับให้ร่างกายสู่สมดุล ผู้ป่วย จะมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิต หลักในการรักษามีดังนี้                  

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต
  • การใช้ยารักษา
  • การดูแลเรื่องอาหาร
  • การใส่เครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ

ufabet

การป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว

  1. โรคหัวใจเมื่อเป็นแล้วมักจะรักษาไม่หาย ดังนั้นการป้องกันก่อนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
  2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ อาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มสุรา
  3. รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจโรคลิ้นหัวใจ
  4. ตรวจร่างกายประจำปี
  5. การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ   โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ

ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ mathertechnologysolutions.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated